กรอบกฎหมาย

ในบทนี้จะเป็นการวิเคราะห์กรอบกฎหมายและกฎระเบียบที่มีผลต่อกระบวนการจัดหางานในแต่ละประเทศ โดยจะเป็นการศึกษาว่า กรอบกฎหมายครอบคลุมทุกขั้นตอนกระบวนการจัดหางานหรือไม่ บังคับใช้ได้กับแรงงานทุกคนหรือไม่ และแต่ละประเทศมีกลไกให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการร่างหรือทบทวนกฎหมายต่างๆ ได้หรือไม่ นอกจากนั้น ในส่วนนี้ยังชี้ถึงช่องว่างทางกฎหมายที่ทำให้แรงงานมีความเปราะบางอีกด้วย

Legal framework dark

    อนุสัญญาระหว่างประเทศ (2.1)

    แนวทางที่ 1.2 ของหลักการทั่วไปและแนวทางปฏิบัติการเพื่อการจัดหางานที่เป็นธรรมของ ILO (ILO GPOG) เสนอแนะให้รัฐ “พิจารณาในการให้สัตยาบันและนำกลไกระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้” ในบทย่อยนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับอนุสัญญาหลักของ UN และ ILO ที่รัฐบาลได้ให้สัตยาบันไว้ และขอบเขตที่รัฐได้นำกระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมาปรับใช้

    การบังคับใช้กับขั้นตอนการจัดหางานต่างๆ (2.2)

    แนวทางที่ 4.1 ของ ILO GPOG มุ่งหวังให้กฎหมายครอบคลุม “ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดหางานและของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเกี่ยวกับการโฆษณา การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การคัดเลือก การเดินทาง การบรรจุงาน และ ... การกลับประเทศต้นทาง” บทย่อยนี้เป็นการให้ภาพรวมเกี่ยวกับเครื่องมือหลักทางกฎหมายในแต่ละประเทศ และเครื่องมือดังกล่าวระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการจัดหางานในทุกขั้นตอนหรือไม่

    การบังคับใช้กับแรงงานทุกคน (2.3)

    แนวทางที่ 4 ของ ILO GPOG มุ่งหวังให้กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดหางานที่เป็นธรรมมีผลบังคับใช้กับ “แรงงานทุกคน โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง” แรงงานบางกลุ่ม เช่น แรงงานทำงานในบ้าน แรงงานเกษตรกรรม หรือแรงงานประมง มักถูกกีดกันออกจากกฎหมายแรงงาน หรือถูกกำกับโดยกฎหมายคนละฉบับที่ให้ความคุ้มครองด้อยกว่า นอกจากนั้น แรงงานที่ไม่มีเอกสารอาจถูกกีดกันออกจากกฎหมายคุ้มครองทั้งในประเทศต้นทางและปลายทางอีกด้วย บทย่อยนี้เป็นการศึกษาขอบเขตของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหางานที่เป็นธรรม

    การมีส่วนร่วมขององค์กรแรงงาน (2.4)

    แนวทางที่ 3.1 ของ ILO GPOG มุ่งหวังให้รัฐอนุญาตให้แรงงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากรอบกฎหมาย บทย่อยนี้เป็นการศึกษาว่า องค์กรแรงงานสามารถมีส่วนร่วมกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีความหมายได้หรือไม่ เช่น ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะหรือกระบวนการทบทวนทางรัฐสภา

    การมีส่วนร่วมขององค์กรของตัวแทนจัดหางานและองค์กรนายจ้าง (2.5)

    แนวทางที่ 3.1 ILO GPOG มุ่งหวังให้รัฐอนุญาตให้องค์กรของตัวแทนจัดหางานและนายจ้างมีส่วนร่วมในการพัฒนากรอบกฎหมาย บทย่อยนี้เป็นการศึกษาว่า องค์กรของตัวแทนจัดหางานและนายจ้างสามารถมีส่วนร่วมกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีความหมายได้หรือไม่ เช่น ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะหรือกระบวนการทบทวนทางรัฐสภา