เมียนมาร์ - ไทย: เสรีภาพในการสมาคม
รัฐธรรมนูญปี 2560 ของประเทศไทยให้การรับรองสิทธิในเสรีภาพในการสมาคม การแสดงออก และการรวมตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญหลายประการ ทั้งในตัวบทกฎหมายและการนำไปปฏิบัติ รวมถึงการนำไปใช้กับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติและกลุ่มรณรงค์ต่าง ๆ อนุสัญญา ILO ฉบับพื้นฐานที่ประเทศไทยฝยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ได้แก่ อนุสัญญาเกี่ยวกับเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการจัดตั้งและการเจรจาต่อรองร่วม โดยทั่วไป แรงงานมีสิทธิในการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน แต่ส่วนใหญ่ถูกกีดกัดจากสิทธิดังกล่าว เช่น ลูกจ้างข้าราชการ แรงงานนอกระบบ/ชั่วคราว แรงงานเหมาช่วง และแรงงานเกษตรกรรมตามฤดูกาล กฎหมายที่บังคับใช้กับสหภาพมีข้อจำกัด เนื่องจากมีการต่อต้านจากนายจ้างอย่างมีนัยยะสำคัญและการคุ้มครองสิทธิแรงงานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ แรงงานในประเทศโดยรวมในปัจจุบันจำนวนน้อยกว่า 2% เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน สถานะของสหภาพแรงงานอ่อนแอลงหลังจากการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ตั้งแต่นั้นมา เจ้าหน้าที่สหภาพหลายคนถูกจับ/ดำเนินคดีในคดีระดับสูงจากการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปของสหภาพ ในปี 2562 ประเทศสหรัฐอเมริกายกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศไทย เนื่องจาก “ความล้มเหลวในการรับประกันสิทธิแรงงานตามมาตรฐานระหว่างประเทศ... เช่น การคุ้มครองเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม”
แรงงานข้ามชาติยิ่งมีเสรีภาพในการสมาคมที่จำกัด แรงงานข้ามชาติมีสิทธิในการเข้าร่วมสหภาพแรงงานที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถจัดตั้งสหภาพใหม่หรือเป็นกรรมการสหภาพได้ ด้วยอัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในไทยที่ต่ำอยู่แล้วและแรงงานข้ามชาติส่วนมากทำงานในอุตสาหกรรมที่แรงงานไทยทำน้อย ข้อกำหนดดังกล่าวจึงทำมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น นอกจากนั้น อุปสรรคด้านภาษาและการเลือกปฏิบัติที่รุนแรงยังกีดกันไม่ให้แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติรวมตัวในสหภาพเดียวกัน ดังนั้น แรงงานข้ามชาติจึงต้องหันไปพึ่งพาสมาคมแรงงานที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง กฎหมายไทยรับรองการเจรจาต่อรองร่วมโดยไม่ต้องมีสหภาพและองค์กรแรงงานก็มักใช้ช่องทางดังกล่าว แต่ในทางปฏิบัติการคุ้มครองยังมีน้อย ทำให้แรงงานข้ามชาติ ซึ่งส่วนใหญ่มีหนี้และมีความเสี่ยงในการถูกไล่ออก/ส่งกลับ ตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบในบริบทดังกล่าว นอกจากนี้ กฎหมายไทยยังรับรองสิทธิในการนัดหยุดงานแต่ก็สามารถทำได้เมื่อกลไกการเจรจาต่อรองร่วมล้มเหลวแล้วเท่านั้น และเจ้าหน้าที่ยังใช้อำนาจในการห้ามการกระทำดังกล่าวอย่างแข็งขัน
ในประเทศเมียนมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนเป็นรัฐบาลที่นำโดยพลเรือนแล้ว แต่พื้นที่ประชาธิปไตยก็ไม่ได้เติบโตขึ้นตามเท่าที่ควร กฎหมายมีการรับรองเสรีภาพในการแสดงออกและการรวมตัว แต่การใช้เสรีภาพดังกล่าวก็ไม่ง่ายในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะหากขัดกับผลประโยชน์ของกองทัพ ซึ่งยังมีบทบาทเข้มแข็งทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้ประท้วง นักข่าว และคนทำงานสื่อต่างถูกข่มขู่ด้วยการจับกุมและการดำเนินคดีเป็นปกติ และการเซ็นเซอร์ตัวเองเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไป การชุมนุมในที่สาธารณะต้องแจ้งล่วงหน้า 5 วันและต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน แม้ว่าองค์กรภาคประชาสังคมจะไม่ต้องจดทะเบียนแล้ว แต่รัฐบาลก็ยังให้สิทธิพิเศษแก่องค์กรที่จดทะเบียนอยู่ สหภาพแรงงานที่ผิดกฎหมายมา 50 ปีก่อนหน้านี้ ปัจจุบันก็ถูกทำให้กฎหมายแล้ว แต่ยังต้องเผชิญข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น แรงงานไม่สามารถเข้าร่วมสหภาพแรงงานที่ตนเลือกได้ และความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกับสหภาพเต็มไปด้วยอุปสรรคด้านเอกสาร กฎหมายได้บรรจุการเจรจาต่อรองร่วมและสิทธิในการนัดหยุดงานไว้เช่นกัน แต่ยังมีข้อจำกัดสำคัญทั้งในตัวบทกฎหมายและการคุ้มครองแรงงานที่ดำเนินการไม่เพียงพอ นอกจากนั้น นายจ้างกระทำการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานที่เข้าร่วมสหภาพแรงงานอย่างแข็งขัน แต่ไม่ว่าอย่างไร สมาชิกสหภาพแรงงานก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นในเวลาที่ผ่านมา และสหภาพแรงงานบางสหภาพก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและเข้าถึงแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากมีเครือข่ายในพื้นที่ชนบทอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพและรัฐบาลดีกว่านี้ เราก็จะได้เห็นผลลัพธ์ในประเทศเมียนมาที่ดีกว่านี้มาก เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ทำลายความหวังในอนาคตอันใกล้ โดยมีสหภาพแรงงานและองค์กรภาคประชาสังคมจำนวนหนึ่งถูกบังคับให้ปิดตัวลงจากการปราบปรามการแสดงออกเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างมีรุนแรง
ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลไทย
ให้สัตยาบันในอนุสัญญา ILO ที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม
รับประกันว่า แรงงานข้ามชาติมีสิทธิในเสรีภาพในการสมาคมเช่นเดียวกับผู้มีสัญชาติไทย รวมถึงในการตั้งหรือนำสหภาพแรงงาน รับประกันว่า แรงงานทุกคน รวมถึงแรงงานข้ามชาติ จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือทำโทษจากการเป็นสมาชิกสหภาพ หรือการเข้าร่วมเจรจาต่อรองร่วมและใช้สิทธิในการนัดหยุดงาน